โจโว รินโปเช
โจโว รินโปเช

โจโว รินโปเช

โจโว ศากยมุนี หรือ โจโว รินโปเช เป็นพุทธปฏิมาที่ชาวทิเบตเคารพบูชาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดโจคัง ในนครลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบตคำว่า "โจโว" ในภาษาทิเบตมีความหมายว่า "พระเป็นเจ้า" (อันเป็นคำเรียกขานสิ่งที่มีศักดิ์สูงสุด เช่นเดียวกับที่ชาวไทยแต่โบราณใช้เรียกขานพระพุทธรูป และพระสงฆ์ รวมถึงพระมหากษัตริย์) ด้วยเหตุนี้ โจโว ศากย มุนี จึงพระศายมุนีเป็นเจ้า ประวัติโจโว รินโปเช เชื่อกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ โดยฝีมือของพระวิศวกรรม หรือพระวิษณุกรรม และยังได้รับการอำนวยพรโดยพระพุทธองค์ ให้มีพลังเยียวยารักษาผู้เคารพสักการะ ต่อมามหาราชแห่งแคว้นมคธได้ถวายพระพุทธรูปนี้แก่จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง และต่อมาเจ้าหญิงเหวินเฉิง พระภาติยะของจักรพรรดิถังไท่จง ทรงอาราธนามายังแผ่นดินทิเบต เมื่อคราที่พระองค์เสด็จมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงเซินกัมโป กษัตริย์ทิเบต ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้ามังซง มังเซน พระนัดดาของพระเจ้าซงเซินกัมโป พระนางเหวินเฉิงได้ซุกซ่อนพระพุทธปฏิมานี้ในห้องลับของวัดโจคัง เนื่องจากในขณะนั้นอาณาจักรถังคิดรุกรานทิเบต ในเวลาต่อมาองค์หญิงจินเฉิง แห่งอาณาจักรถัง ซึ่งเดินทางมาเป็นพระชายาของกษัตริย์ท้องถิ่น เพื่อประสานไมตรีกับทิเบต ได้ทรงนำพระพุทธโจโว รินโปเช ออกมาประดิษฐาน ณ วิหารใหญ่ ของวัดโจคังอีกครั้ง ราวปีค.ศ. 710ในช่วงศตวรรษที่ 14 จงขะปะ หรือสองขะปะ ผู้ก่อตั้งนิกายเกลุก หรือนิกายหมวกเหลืองของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานแบบทิเบต ได้ถวายเครื่องทรงสัมโภคกายแก่พระพุทธปฏิมา ซึ่งแต่ก่อนทรงจีวรธรรมดา ในภาคนิรมานกาย ทั้งนี้ สัมโภคกาย คือ กายละเอียดเป็นทิพย์ภาวะสูงสุดอันดับ 2 รองจากธรรมกาย ตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน/วัรยาน พระพุทธรูปที่ปรากฏพระองค์ในภาคนี้ มักทรงเครื่องทรงอย่างวิจิตรงดงาม ส่วนภาคนิรมานกาย คือภาคที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตรพระกายเป็นมนุษย์สามัญ มีเกิด แก่ เจ็บ ตายไปตามอนิจลักษณ์ [1]ทั้งนี้ ยังมีพระพุทธปฏิมาโจโว อีกองค์ประดิษฐานที่วัดราโมเช ในนครลาซาเช่นกัน มีชื่อว่า โจโว มิกเยอ ดอร์เจ นำมาจากเนปาล โดยเจ้าหญิง เมื่อครั้งที่ทรงเดินทางมาทิเบต เพื่อเป็นพระชายาอีกองค์ของพระเจ้าซงเซินกัมโปอย่างไรก็ตาม ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ราวทศวรรษที่ 60 วิหารราโมเชถูกไฟเผลาผลาญ เสียหายไปส่วนหนึ่ง ขณะที่พระพุทธปฏิมาสูญหายไป กระทั่งในปี 1983 มีผู้พบส่วนครึ่งล่างขององค์พระอีกครั้ง กล่าวกันว่าถูกทิ้งไว้ในกองขยะแห่งหนึ่งในกรุงลาซา และต่อมาพบครึ่งองค์ส่วนบนที่กรุงปักกิ่ง จึงนำกลับมาซ่อมแซมในปี 1986 แต่ฝีมือซ่อมไม่ละเอียดนัก จึงยังเห็นร่องรอยของความเสียหายอยู่ จนกระทั่งถึงปี 1993 ปัจจุบัน โจโว รินโปเช ได้รับการซ่อมแซมจนงดงามเกือบดังเดิม [2] [3]

ใกล้เคียง